สร้างกลุ่มย่อยใน google meet จัดกิจกรรมกลุ่มออนไลน์
การสร้างกลุ่มย่อยภายใน google meet เพื่อจัดกิจกรรมกลุ่ม
ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์นั้น เราสามารถจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรยากาศในการเรียนการสอนออนไลน์อยู่ในลักษณะ active learning ซึ่งจัดกระทำผ่านโปรแกรมที่เป็นสื่อกลางระหว่างครูและนักเรียน โดยใช้งาน google meet ซึ่งมีวิธีการสร้าง และการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการสร้างกลุ่มย่อยภายใน google meet
ขั้นตอนที่ 1 ให้เข้าไปที่ ตามภาพหมายเลข 1 จากนั้นเลือกห้องกลุ่มย่อย ภาพหมายเลข 2 ดังภาพที่แสดงให้เห็นด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 2 ทำการปรับตั้งค่าห้องกลุ่มย่อย ตามที่เราต้องการ โดยผมจะอธิบายตามภาพที่มีหมายเลขแสดง ดังภาพด้านล่าง
หมายเลขที่ 1 ห้องแชท หมายความว่า จำนวนห้องย่อยที่เราต้องการสร้าง มีกี่จำนวน ก็ระบุเป็นตัวเลขเข้าไปได้เลย จำนวนมากที่สุดที่สร้างได้คือ 100 กลุ่ม
หมายเลขที่ 2 เป็นการกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรมกลุ่ม หน่วยในการกำหนดเป็น นาที เมื่อครบกำหนด ระบบจะรวมนักเรียนเข้ามาที่กลุ่มหลักรวมกันทั้งหมด แต่หากเราไม่ต้องการกำหนดเวลาก็สามารถเว้นไว้ได้เลย ไม่ต้องใส่เวลาลงไป
หมายเลขที่ 3 สุ่ม หมายความว่านักเรียนที่เข้าไปในแต่ละกลุ่มย่อย โดยที่ระบบของ google meet จะเป็นคนสุ่มให้อัตโนมัติ แต่หากครูไม่ต้องการสุ่ม ก็สามารถลากรายชื่อนักเรียนแต่ละคนเข้าไปในกลุ่มย่อย ๆ ได้เช่นกัน
หมายเลขที่ 4 ล้าง หมายความว่าเป็นการล่างรายชื่อนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มย่อยออกให้หมด

ขั้นตอนที่ 3 กดเข้าไปที่ เปิดห้องประชุม (นักเรียนก็จะเข้าไปในกลุ่มย่อยของตนเอง) โดยครูจะอยู่ในกลุ่มหลัก

ขั้นตอนที่ 4 หากครูต้องการเข้าร่วมกับกลุ่มย่อยกลุ่มใดก็สามารถ กดที่เข้าร่วมย่อยในกลุ่มนั้น ๆ ได้เลย และหากต้องการออกจากกลุ่มย่อยก็สามารถ กดออก แล้วไปเข้าเยี่ยมชมหรือทำกิจกรรมกับกลุ่มย่อยกลุ่มอื่น ๆ ได้เลย (ในระหว่างที่ครูอยู่ในกลุ่มหลักและนักเรียนอยู่กลุ่มย่อยเวลาครูพูดอะไรนักเรียนจะไม่ได้ยินนะครับ)

ขั้นตอนที่ 5 ปิดห้องประชุม เมื่อครูต้องการปิด หรือจะรอให้ครบกำหนดตามเวลาที่เราตั้งก็ได้นะครับ (เมื่อกดปิดห้องประชุม ตัวโปรแกรมจะทำการนับถอยหลัง ประมาณ 30 วินาที จากนั้นนักเรียนทุกคนก็จะมาร่วมกันที่กลุ่มหลักเช่นเดิม)

ตัวอย่างภาพที่แสดงการนับเวลาถอยหลังเพื่อให้นักเรียนเข้ามาในกลุ่มหลักเช่นเดิม

สรุปการจัดกิจกรรมกลุ่มภายในห้อเรียนออนไลน์ สำหรับความรู้สึกของผมนะครับ ตัวผมเองรู้สึกสนุกดีนะครับ เหมือนมันได้ทำกิจกรรมอะไรที่แตกต่างจากเดิมมากขึ้นมาหน่อย และการเข้าใช้งานต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนอะไร ที่สำคัญนักเรียนเข้าจะได้พูดคุยกันในการทำกิจกรรมกลุ่มโดยที่ไม่ต้องมากังวลว่าครูจะได้ยินเสียงเข้าพูดคุยกัน (ในกรณีที่ครูไม่ได้เข้าร่วมกลุ่มย่อยนั้นนะครับ)
บัญชีการใช้งาน อีเมลของผมเป็นแบบการสมัครใช้บริการ google workspace for education : Teaching and Learning Upgrade
